Industrial Organizational Psychology

สาขาอุตสาหกรรมและองค์การ

รายละเอียดหลักสูตร

4 ปี | 134 หน่วยกิต

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในการทำงานในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนาและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า    134   หน่วยกิต

แนวทางการประกอบอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในตำแหน่งนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมในองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน หรือทำงานด้านบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

โครงสร้างหลักสูตร

(1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยว่า 30 หน่วยกิต

  • กลุ่มสาระอยู่ดีมีสุข 6 หน่วยกิต
  • กลุ่มสาระศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
  • กลุ่มสาระภาษากับการสื่อสาร 13 หน่วยกิต
  • กลุ่มสาระพลเมืองไทยและพลเมืองโลก 5 หน่วยกิต
  • กลุ่มสาระสุนทรียศาสตร์ 3 หน่วยกิต

(2)  หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 98  หน่วยกิต

  • วิชาแกน 47 หน่วยกิต
  • วิชาเฉพาะบังคับ 24 หน่วยกิต
  • วิชาเฉพาะเลือก 27 หน่วยกิต
  • วิชาเลือกในสาขาไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
  • วิชาเลือกนอกสาขาไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

(3)  หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

(1)  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30  หน่วยกิต

1. กลุ่มสาระอยู่ดีมีสุขไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 01175xxx วิชาพลศึกษา(Physical Education) 1(0-2-1) ให้นิสิตเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต จากรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มสาระอยู่ดีมีสุข

2. กลุ่มสาระศาสตร์แห่งผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 3  หน่วยกิต ให้นิสิตเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต จากรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มสาระศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ

3.  กลุ่มสาระภาษากับการสื่อสาร 13  หน่วยกิต วิชาภาษาไทย 3(–) วิชาสารสนเทศ/คอมพิวเตอร์ 1(–) 01355xxx วิชาภาษาอังกฤษ(English) 9( –  – )

4. กลุ่มสาระพลเมืองไทยและพลเมืองโลกไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต 01999111 ศาสตร์แห่งแผ่นดิน (Knowledge of the Land) 2(2-0-4) และให้นิสิตเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต จากรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มสาระพลเมืองไทยและพลเมืองโลก

5.  กลุ่มสาระสุนทรียศาสตร์ไม่น้อยกว่า3หน่วยกิตให้นิสิตเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต จากรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มสาระสุนทรียศาสตร์

 

(2)   หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 98 หน่วยกิต

2.1  วิชาแกน 47  หน่วยกิต

01416101 พันธุศาสตร์กับสังคม(Genetics and Society) 3(3-0-6)

01417111 แคลคูลัส I (Calculus I) 3(3-0-6)

01422111 หลักสถิติ (Principles of Statistics) 3(3-0-6)

01424111 หลักชีววิทยา(Principles of Biology) 3(3-0-6)

01459111 จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) 3(3-0-6)

01459222 สรีรจิตวิทยา (Physiological Psychology) 3(3-0-6)

01459224 จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning) 3(3-0-6)

01459225 การรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception) 3(3-0-6)

01459226 จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) 3(3-0-6)

01459227 จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) 3(3-0-6)

01459321 การวัดและการทดสอบเบื้องต้นทางจิตวิทยา (Introduction to Psychological Testing and Measurement) 3(3-0-6)

01459324 แนวความคิดทางจิตวิทยา(Viewpoints in Psychology) 3(3-0-6)

01459391 สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัยทางจิตวิทยา (Statistical Analysis in Psychological Research) 3(3-0-6)

01459491 ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางจิตวิทยา (Basic Research Methods in Psychology) 3(3-0-6)

01459497 สัมมนา (Seminar) 1

01459498 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1

01459499** การฝึกงาน (Practicum) 3

2.2  วิชาเฉพาะบังคับ 24  หน่วยกิตให้นิสิตเลือกเรียนตามสาขาต่อไปนี้

01459261 จิตวิทยาพัฒนาการ 3(3-0-6) (Developmental Psychology)

01459262 จิตวิทยาเด็ก 3(3-0-6) (Child Psychology)

01459263 จิตวิทยาวัยรุ่น 3(3-0-6) (Psychology of Adolescence)

01459361 วิธีการศึกษาเด็ก 3(3-0-6) (Methods of Child Study)

01459362 การทดสอบทางจิตวิทยาพัฒนาการ 3(3-0-6) (Psychological Testing in Developmental Psychology)

01459363 การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 3(3-0-6) (Developmental Enhancement for Children)

01459364 จิตวิทยาผู้ใหญ่ 3(3-0-6) (Adulthood Psychology)

01459465 โรคที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ 3(3-0-6) (Diseases Affecting Human Development)

2.3 วิชาเฉพาะเลือก ไม่น้อยกว่า 27  หน่วยกิต

2.3.1  วิชาเลือกในสาขา 18  หน่วยกิต

ให้นิสิตเลือกเรียนตามสาขาวิชาเอก ต่อไปนี้

01459264 จิตวิทยาความขัดแย้งทุกช่วงวัย 3(3-0-6) (Psychology of Conflict in Life-Span)

01459265 จิตวิทยาพัฒนาการทางภาษา 3(3-0-6) (Psychology of Language Development)

01459266 จิตวิทยาพฤติกรรมทางเพศ 3(3-0-6) (Psychology of Sexual Behavior)

01459271 จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น 3(3-0-6) (Introduction to Industrial and Organizational Psychology)

01459332 จิตวิทยาการปรับพฤติกรรม 3(3-0-6) (Psychology of Behavior Modification)

01459334 กลุ่มสัมพันธ์ 3(3-0-6) (Group Dynamics)

01459336 จิตวิทยาการเป็นบิดามารดา 3(3-0-6) (Psychology of Parenting)

01459342 จิตวิทยาเด็กไม่พูด 3(3-0-6) (Psychology of Non-Verbal Child)

01459365 การให้การปรึกษาสำหรับมนุษย์ทุกช่วงวัย 3(3-0-6) (Counseling for Human Life Span)

01459366 การส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกในเด็กและครอบครัว 3(3-0-6) (Positive Behavior Promoting in Children and Family)

01459378 มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน 3(3-0-6) (Human Relations at Work)

01459451 จิตวิทยาสังคม 3(3-0-6) (Social Psychology)

01459461 จิตวิทยาเด็กเกเร 3(3-0-6) (Psychology of Juvenile Delinquency)

01459462 จิตวิทยาผู้หญิง 3(3-0-6) (Psychology of Women)

01459463 จิตวิทยาปัจฉิมวัย 3(3-0-6) (Psychology of Late Adulthood)

01459466 การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับวัยรุ่นถึงปัจฉิมวัย 3(3-0-6) (Developmental Enhancement for Adolescence to Late Adulthood)

01459467 จิตวิทยาผู้ชาย 3(3-0-6) (Psychology of Men)

01459496 เรื่องเฉพาะทางจิตวิทยา 3(3-0-6) (Selected Topics in Psychology) 3(3-0-6)

2.3.2  วิชาเลือกนอกสาขา ไม่น้อยกว่า 9  หน่วยกิต

ให้นิสิตเลือกเรียนรายวิชานอกสาขาวิชา โดยเลือกเป็นกลุ่มวิชาหรือสาขาวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือหัวหน้าภาควิชา

 

(3)  หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6  หน่วยกิต

 

ความหมายของเลขรหัสประจำวิชา

ความหมายของเลขรหัสประจำวิชาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ประกอบด้วยเลข 8 หลัก มีความหมายดังนี้

เลขลำดับที่ 1-2 (01) หมายถึง วิทยาเขตบางเขน
เลขลำดับที่ 3-5 (459) หมายถึง สาขาวิชาจิตวิทยา
เลขลำดับที่ 6 หมายถึง ระดับชั้นปี
เลขลำดับที่ 7 มีความหมายดังต่อไปนี้
0 หมายถึง   กลุ่มวิชานอกสาขา
1  หมายถึง กลุ่มวิชาพื้นฐานและวิชาทั่วไป
2 หมายถึง กลุ่มวิชาจิตวิทยาทั่วไป
3 หมายถึง   กลุ่มวิชาจิตวิทยาชุมชน
4 หมายถึง   กลุ่มวิชาจิตวิทยาคลินิก
5 หมายถึง   กลุ่มวิชาจิตวิทยาสังคม
6 หมายถึง   กลุ่มวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ
7 หมายถึง   กลุ่มวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
9 หมายถึง   กลุ่มวิชาในหมวดวิชาวิจัย เรื่องเฉพาะทาง สัมมนา ปัญหาพิเศษและการฝึกงาน
เลขลำดับที่  8 หมายถึง   ลำดับวิชาในแต่ละกลุ่ม